หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งในวาระสุดท้าย

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งในวาระสุดท้าย

        ไม่ว่าหมอ ผู้ป่วยและครอบครัวจะพยายามสักเพียงไหนในการต่อสู้กับโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย บางครั้งก็จะมาถึงจุดที่การรักษาที่ตัวโรคมะเร็งนั้นไม่สามารถไปต่อได้ การรักษาต่อจากนี้ก็จะเน้นการรักษาที่ตัวผู้ป่วยมากขึ้นเพื่อประคับประคองสภาพร่างกายให้แข็งแรงและบรรเทาอาการต่างๆเพื่อให้คงคุณภาพชีวิตไว้ให้ได้มากที่สุด
        ในความเป็นจริงแล้วการรักษาแบบประคับประกอบและบรรเทาอาการนี้จะได้รับร่วมไป กับการรักษาที่ตัวมะเร็งอยู่ตลอดแม้ว่าจะรักษาแบบหวังผลหายขาดก็ตามแต่อาจจะยังไม่เห็นเด่นชัดในช่วงแรกเพราะมีการรักษามากมายเกิดขึ้นพร้อมกันเท่านั้นเอง ในบางครั้งการรักษาแบบนี้อาจเป็นการรักษาที่ตัวมะเร็งเพื่อลดอาการในกรณีที่มีทางเลือกที่เหมาะสมเช่นนั้น เนื้อหาในบทนี้จะมุ่งเน้นที่การเตรียมพร้อมเพื่อผู้ป่วยกำลังจะเข้าสู่วาระสุดท้ายและการดูแลในขณะนั้น




ก่อนวาระสุดท้ายจะมาถึง

สะสางเรื่องส่วนตัว

        นับเป็นเรื่องเศร้าและยากยิ่งในการที่จะพูดคุยกันถึงการตายและความตายในอนาคตกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เพิ่งรับทราบว่าเป็นมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นเรื่องปกติของอารมณ์ต่างๆจะหมุนเวียนกันเข้ามา ความเศร้าโศกต่อการพลัดพรากต่อคนที่รัก ต่อวันเวลาที่จะไม่มีอีกในอนาคต แต่การพูดคุยถึงความจริงข้อนี้เป็นสิ่งที่ดีและในความเป็นจริงควรกระทำตั้งแต่ที่รับทราบถึงการอยู่ในมะเร็งระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างช้าที่สุดก็ควรจะพูดคุยเมื่อเป้าหมายการรักษานั้นไม่ใช่การรักษาที่ตัวมะเร็งอีกต่อไป เพราะมันจะช่วยลดหรือขจัดความกังวลต่อปัญหาภายหลังการจากไป วางเป้าหมายชีวิตใหม่อย่างเหมาะสม ตัดสินใจในอนาคตที่สำคัญไว้ล่วงหน้า บางครั้งหมอที่รักษาอาจเป็นผู้ที่ชี้ให้เห็นถึงวาระสุดท้ายที่กำลังใกล้เข้ามา
        อย่างแรกที่ควรทำก็คือจัดการธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย เช่น เอกสารทางกฎหมายและการเงินต่างๆ เพื่อให้ในช่วงวาระสุดท้ายไม่ต้องกังวลเรื่องเหล่านี้อีกต่อไปสามารถใช้เวลาไปกับคนที่รักและครอบครัวได้เต็มที่ เป็นการดีที่จะพูดคุยถึงการตัดสินใจต่างๆกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถจะตัดสินใจได้ต่อไป (การทำเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรจะมีน้ำหนักหนักแน่นกว่าแค่คำพูดบางครั้งคนที่เกี่ยวข้องอาจไม่ได้รับทราบด้วยกัน) บางรายอาจวางแผนไปจนถึงการจัดการหลังการเสียชีวิต

จัดการธุระที่ค้างคา

        บางทีอาจจะยังมีอะไรบางอย่างค้างคาอยู่ที่จะช่วยเติมเต็มความหมายของชีวิตใน ระยะเวลาที่เหลือ สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นความฝันชั่วชีวิตหรืออาจเป็นสิ่งเล็กน้อยเช่นการย้อนกลับไปอ่านหนังสือเล่มโปรดหรือใช้เวลากับคนที่รักพูดคุยกันถึงสิ่งดีๆความรู้สึกที่มีต่อกัน บางครั้งอาจเป็นปัญหาบางอย่างที่ยังไม่ได้สะสางหรือการขอโทษต่อสิ่งที่เคยทำผิดมาก่อน คุณสามารถทำได้โดยการพูดคุยเป็นส่วนตัว เขียนจดหมาย หรือ โทรศัพท์ อย่างไรก็ตามบางคนอาจตอบสนองต่อคุณในทางตรงกันข้ามซึ่งมันไม่สำคัญเท่ากับ ที่คุณรู้ว่าคุณได้พยายามแล้วในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
        หลายคนทุ่มเทลงไปเต็มที่กับการรักษาจนหลายครั้งมันได้ผ่านช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะทำตามความฝัน ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะพูดคุยกันเสียแต่เนิ่นๆถึงความฝันที่อยากให้เป็นจริง แต่ก็ไม่แนะนำให้ทิ้งการรักษาเพื่อทำตามความฝันเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะพูดคุยปรึกษากับหมอที่ดูแลเพื่อวางแผนที่เหมาะสมที่สุดที่เป็นไปได้ครับ

[ประสบการณ์จริง]
        มีคนไข้มะเร็งปอดอยู่รายหนึ่ง ภายหลังดื้อยากับการรักษาสูตรแรกอยู่ในระหว่างการรักษาสูตรที่สองด้วยเคมีบำบัดนั้นก็มาปรึกษาว่าเขามีความฝันจะบินไปเที่ยวเมืองนอก หลังจบคีโมไม่รู้จะไปไหวมั้ย ผมจึงช่วยแนะนำและวางแผนแบบนี้ครับคือ ระหว่างรอบคีโมให้ลองนั่งเครื่องไปเที่ยวระยะใกล้ๆก่อนเช่นภูเก็ตเพื่อดูว่า เมื่อไปอยู่บนเครื่องสภาพร่างกายจะเป็นเช่นไร เมื่อผ่านไปได้ด้วยดีผมจึงอนุญาตพร้อมจดหมายติดตัวคนไข้เพื่อไปเที่ยวต่าง ประเทศโดยอาศัยช่วงระยะเวลาหลังจบคีโม ในที่สุดคนไข้ก็ได้ไปฮ่องกงแม้จะไม่ได้ไกลอะไรมากมายแต่สิ่งที่สะท้อนออกมา คือการที่เขามีความสุขที่ได้เที่ยวไม่ต่างจากคนปกติ ญาติถึงกับบอกว่าดูแข็งแรงมากกว่าตอนอยู่เมืองไทยเสียอีก เดินลืมเหนื่อยทีเดียว

ทบทวนชีวิตตนเอง

        คุณควรหาเวลาทบทวนตนเองถึงสิ่งดีๆที่ได้ผ่านมาในชีวิตไม่ว่าจะเป็นความ สำเร็จเรื่องใด คนที่คุณรักและรักคุณ เหตุการณ์ต่างๆที่ช่วยเปลี่ยนตัวคุณเอง พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวถึงเวลาที่เคยได้ใช้ร่วมกัน ไม่เพียงจะช่วยทำให้ความทรงจำนั้นมีค่ามากขึ้นแต่จะช่วยสร้างความทรงจำดีๆต่อคนอื่นๆด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่แค่เรื่องเล็กน้อยก็มีค่าเพียงพอจะให้พูดถึง
        ระหว่างที่พยายามคิดทบทวนคุณอาจลองเขียน บันทึกเสียงหรือวีดีโอ สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่มีค่าต่อคนที่ยังอยู่ต่อไปช่วยให้เขาเหล่า นั้นก้าวผ่านความเศร้าโศกได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เขารู้สึกผูกพันด้วยกันแม้ยามจากลา การหาโอกาสฉลองด้วยกันจะเป็นภาพความทรงจำดีๆต่อกันในอนาคตได้ดี

วางแผนการตัดสินใจทางการแพทย์ในวาระสุดท้าย

        หลายครอบครัวสามารถตัดสินใจได้ค่อนข้างง่ายที่จะปล่อยผู้ป่วยให้จากไปเมื่อ ถึงเวลาตามธรรมชาติ แต่หลายครอบครัวไม่ได้เป็นเช่นนั้น จึงเป็นการสำคัญไม่น้อยที่จะต้องมีการตัดสินใจปัญหาเหล่านี้ไว้ล่วงหน้า ในบ้านเราหมอมักจะถามถึงการปั๊มหัวใจช่วยชีวิตและการใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อให้เข้าใจการตัดสินใจนี้จึงแยกออกมาเป็นหัวข้อต่างหาก
       การปั๊มหัวใจช่วยชีวิตนั้นประกอบด้วยการช่วยเหลือผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น และหรือปอดหยุดทำงานด้วยวิธีการต่างๆเช่น การกดหน้าอกนวดหัวใจ การช่วยหายใจด้วยอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับคนไข้มะเร็งระยะสุดท้ายการกระทำนี้มักไม่ประสบความสำเร็จหรือช่วยอะไรได้ก็เพียงสั้นๆเพื่อรอระยะเวลาที่ร่างกายทนรับต่อไปไม่ไหวและเข้าสู่วงจรเดิมอีกครั้ง จึงไม่เป็นการดีต่อผู้ป่วยที่ต้องมาทนรับความทรมานจากความพยายามที่สูญเปล่า การปฏิเสธจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม อย่างไรก็ดีพบว่าบางครั้งญาติๆอาจไม่กล้าเป็นคนตัดสินใจที่จะปฏิเสธเพราะมอง เหมือนว่าเป็นการทำให้ผู้ป่วยจากไปเร็วขึ้น ในความเป็นจริงมันไม่ได้แตกต่างกันมากมายนักนอกจากผู้ป่วยจะต้องทรมานนานขึ้นจากสิ่งที่ไม่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วย จึงเป็นการดีกว่าที่ในครอบครัวจะมีการพูดคุยกันไว้ก่อน
        บางครั้งการตัดสินใจนั้นอาจจะยากยิ่งกว่าคือเมื่อหมอประเมินแล้วว่าผู้ป่วย มีปัญหาที่ไม่ไหวในด้านใดแต่หัวใจยังทำงานอยู่ ญาติๆต้องการจะช่วยเหลือหรือไม่ หากผู้ป่วยตัดสินใจไว้ล่วงหน้าจะเป็นการดีที่สุด ตรงความต้องการ และไม่ต้องทำให้ญาติๆรู้สึกผิดในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่สำคัญเช่น

- อาหาร หากไม่สามารถกินทางปากได้อีกต่อไปควรจะใส่สายยางให้อาหารหรือไม่ หรือควรจะให้สารอาหารทางเส้นเลือดหรือไม่

- ท่อช่วยหายใจ หากไม่รู้ตัวแล้ว หากไม่สามารถหายใจเองได้ไหว จะใส่ท่อช่วยหายใจหรือไม่
แม้การกระทำเหล่านี้เป็นการช่วยเหลือตามการแพทย์แต่สำหรับผู้ป่วยในวาระสุดท้ายนั้นอาจเป็นเพียงเครื่องมือที่ทรมานผู้ป่วยหรือไม่คงต้องพิจารณาให้ดี

       นอกจากนี้ปัญหาอาจเกิดนอกเวลาหรือนอกโรงพยาบาลที่รักษาประจำจึงอาจไม่ได้พบ กับหมอประจำตัวของท่านในขณะเกิดปัญหาการพูดคุยกับหมอของท่านล่วงหน้าอาจช่วย ในการวางแผนตัดสินใจได้ดีกว่า


เมื่อวาระสุดท้ายกำลังมาเยือน

        ผู้ป่วยระยะนี้มักจะได้รับการดูแลอยู่กับบ้าน ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่คนที่ดูแลจะไม่รู้ว่าอะไรที่กำลังจะต้องเผชิญ และนั่นมักจะสร้างความกังวลใจในการที่จะดูแลผู้ป่วยใกล้วาระสุดท้าย ไม่รู้ว่าจะดูแลอย่างไร แก้ไขอย่างไร การดูแลที่เหมาะสมนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานเพิ่มขึ้นยังช่วยให้ การจากไปนั้นเป็นไปอย่างสงบ

สัญญาณบ่งบอกว่าวาระสุดท้ายกำลังใกล้เข้ามา

        แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะระบุระยะเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ป่วยแต่ละคน แต่สัญญาณบางอย่างอาจช่วยบ่งบอกว่าบั้นปลายนั้นกำลังใกล้เข้ามา ไม่จำเป็นต้องพบตามลำดับหรือต้องพบทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ได้แก่

- ร่างกายอ้อนล้าลงอย่างเห็นได้ชัด

- ใช้เวลาส่วนมากไปกับการนอนเฉยๆหรือนอนหลับ

- น้ำหนักลดอย่างต่อเนื่อง กล้ามเนื้อลีบเล็กลง

- เบื่ออาหาร ไม่อยากกิน

- พูดคุยน้อยลง ขาดความสนใจต่อสิ่งต่างๆ

- ไม่สนใจสิ่งรอบข้างมากไปกว่าคนที่ต้องการเพียงไม่กี่คน

        ผู้ป่วยที่มีสัญญาณเหล่านี้เป็นตัวบอกถึงภาวะร่างกายที่กำลังถดถอยอย่างต่อ เนื่อง ผู้ดูแลสามารถให้การดูแลต่างๆเพื่อให้สร้างความสบายและลดความทรมานแก่ผู้ ป่วยได้ดังนี้

- ใช้ที่นอนนุ่มๆเพื่อให้ผู้ป่วยพักอย่างสบาย ควรมีการเปลี่ยนท่าบ่อยๆอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ

- พยายามตั้งศรีษะสูงหรือนอนตะแคงเท่าที่ทำได้จะช่วยลดอาการเหนื่อยและการสำลัก

- ใช้ผ้าห่มให้ความอบอุ่น ควรหลีกเลี่ยงผ้าห่มไฟฟ้า กระเป๋าน้ำร้อนเพราะอาจจะร้อนเกินจนลวกเป็นแผลได้

- คอยพูดคุยยามผู้ป่วยตื่นถึงเวลา สถานที่ บุคคลต่างๆเพื่อช่วยให้สมองยังทำงานสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่สับสน

- ถ้ายังกลืนไหวอาจให้ดื่มน้ำซุปผ่านหลอดหรือช้อน ปากที่แห้งอาจใช้ลิปมันหรือวาสลีนทาช่วยให้ปากไม่แห้งแตก

- นวดเบาๆสามารถทำให้ผ่อนคลายและเสริมการหมุนเวียนของเลือด

- บางทีแค่การนั่งอยู่ด้วย กุมมือเอาไว้ ลูบศรีษะเบาๆอาจเป็นสิ่งที่ช่วยผู้ป่วยได้ดีที่สุดและต้องการที่สุด
หากมีปัญหาอื่นใดควรปรึกษากับทีมที่ดูแล บางครั้งหมอของท่านอาจให้คำแนะนำคาดการณ์ถึงปัญหาเฉพาะของผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้


ในวาระสุดท้าย

ผู้ป่วยอาจมีอาการต่างๆเหล่านี้เพิ่มขึ้นมาอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ามาถึงวาระสุดท้ายแล้วก็ได้ เช่น

- การหายใจจะช้าลง บางครั้งอาจมีช่วงที่หยุดนาน บางคนอาจหายใจแรงลึกเป็นเฮือกๆ

- มีเสียงหายใจกลุกกลักในลำคอซึ่งอาจดังจนคนรอบข้างได้ยิน

- ผิวหนังเย็น มือเท้าเย็น บางคนอาจดูเขียวๆได้

- ปากแห้ง ริมฝีปากแห้งแตก

- ปัสสาวะออกน้อย

- คุมอุจจาระไม่อยู่

- มีแขนขากระตุกเป็นระยะ

- สับสนเรื่องเวลา สถานที่ บุคคลต่างๆ

- เห็นหรือได้ยินภาพหลอน

- เริ่มไม่รู้ตัวเป็นระยะจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะโคม่า

        ในระยะนี้คือช่วงเวลาที่ร่างกายเริ่มยอมแพ้ต่อปัญหาต่างๆ อวัยวะต่างๆค่อยๆลดการทำงานเพื่อสงวนพลังงานไว้ที่อวัยวะที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรจะปลุกผู้ป่วยเพียงเพื่อให้ตื่นมากินเพราะโดยธรรมชาติร่างกายจะไม่ได้ต้องการอีกต่อไป คนไข้เองก็ไม่ได้รู้สึกหิวหรืออยากกินในทางกลับกันในรายที่หิวหรืออยากกินหากไม่ได้มีปัญหาอะไรก็สามารถให้กินได้ หากอยู่โรงพยาบาลหมออาจจะยุติยาและการตรวจทุกอย่างที่ไม่จำเป็นเพื่อให้ผู้ ป่วยได้รับการพักผ่อนมากที่สุดจวบจนวาระสุดท้าย หากผู้ดูแลไม่แน่ใจอย่าลังเลใจที่จะปรึกษาทีมที่ดูแลครับ

คำแนะนำเพิ่มเติม
        บางครั้งการเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับช่วงเวลานั้นนอกจากจะช่วยลดความกังวล ความเครียดของผู้ดูแลยังช่วยให้ทุกคนใช้เวลาอย่างเหมาะสมไปกับการจากไป มากกว่าความวุ่นวายสับสน สิ่งที่อาจวางแผนการเตรียมตัว
- เตรียมรายชื่อคนที่อยากให้มาเยี่ยมหรือดูแลในช่วงวาระสุดท้าย
- ในบางรายบางศาสนาอาจต้องการพิธีกรรมหรือบุคคลทางศาสนาในช่วงวาระสุดท้าย
- เตรียมรายชื่อและเบอร์โทรให้แก่ญาติที่จะช่วยแจ้งข่าวภายหลังการจากไป
- วางแผนการจัดการร่างกายต่อจากนั้นเช่น การแต่งตัว พิธี สถานที่
- หากอยู่โรงพยาบาลควรแจ้งความต้องการแก่พยาบาลที่ดูแลเพื่อที่จะสามารถติดต่อดำเนินการได้สะดวก

หลังจากนั้น

        แม้ว่าการเสียชีวิตจะคาดการณ์ไว้แล้ว และ เตรียมการไว้แล้วแต่ความรู้สึกช็อค ตกใจ ไม่อยากจะเชื่อสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบเร่งจัดการเรื่องต่างๆในทันที ญาติๆอาจใช้เวลาสักครู่ในการนั่งอยู่เงียบๆ พูดคุยด้วยเบาๆ กุมมือเอาไว้ และจดจำการจากไปอย่างสงบ ก่อนจะดำเนินการตามสิ่งที่วางแผนไว้ การจัดการจากจุดนี้หากไม่มีประสบการณ์มาก่อนควรปรึกษากับทีมที่ดูแลว่าขั้นตอนต่างๆจะเป็นเช่นไร

47 ความคิดเห็น:

  1. เป็นประโยชน์มาก
    ขอบพระคุณค่ะ คุณหมอ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

    ตอบลบ
  3. อ่านตั้งแต่พ่อยังอยู่ จนพ่อไปแล้ว กลับมาอ่านอีกน้ำตาก็ยังไหลเหมือนเดิม ตรงทุกอย่าง

    ตอบลบ
  4. อ่านตั้งแต่พ่อยังอยู่ จนพ่อไปแล้ว กลับมาอ่านอีกน้ำตาก็ยังไหลเหมือนเดิม ตรงทุกอย่าง

    ตอบลบ
  5. ตอนนีกำลังเจออยู่กับน้องสาวของดิฉันมะเร็งระยะสุดท้าย
    อ่านด้วยร้องให้ด้วย

    ตอบลบ
  6. ตอนนีกำลังเจออยู่กับน้องสาวของดิฉันมะเร็งระยะสุดท้าย
    อ่านด้วยร้องให้ด้วย

    ตอบลบ
  7. โดยส่วนตัว เมื่อรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง อยากจะตายเลย ไม่อยากให้ทางบ้านทรมานกายทรมานใจไปกับการดูแล และอยากให้เก็บเงินให้ลูกดีกว่า

    ตอบลบ
  8. โดยส่วนตัว เมื่อรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง อยากจะตายเลย ไม่อยากให้ทางบ้านทรมานกายทรมานใจไปกับการดูแล และอยากให้เก็บเงินให้ลูกดีกว่า

    ตอบลบ
  9. อยู่กับแม่ที่เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายมาหกเดือนเต็ม ตอนนี้แม่เสียไปเกือบเดือนแล้ว บทความของคุณหมอช่วยได้มากจริงๆค่ะ เพราะแม่เลือกที่จะจากไปตามธรรมชาติ ทำให้ดิฉันได้อยู่กับแม่จนกระทั่งลมหายใจเฮือกสุดท้ายของท่าน เสียใจที่แม่จากไป แต่ก็ดีใจที่แม่ไปอย่างสงบตามที่มนุษย์คนหนึ่งจะมีสิทธิ์ตาย ขอบคุณบทความดีดีค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ตาป่วย้ป็นมะเร็งปอด้หมือนกันค่ะ คุณแม่ของพี่มีอาการแรกๆก่อนจากไปยังไงบ้างคะ

      ลบ
    2. ตาป่วย้ป็นมะเร็งปอด้หมือนกันค่ะ คุณแม่ของพี่มีอาการแรกๆก่อนจากไปยังไงบ้างคะ

      ลบ
  10. ยังทำใจไม่ได้ แม่เริ่มทรุดลงแล้ว ...

    ตอบลบ
  11. เป็นประโยชน์ มาก ค่ะ ขอบ คุณ ค่ะ

    ตอบลบ
  12. เป็นประโยชน์ มาก ค่ะ ขอบ คุณ ค่ะ

    ตอบลบ
  13. อ่านแล้วเศร้าค่ะแม่เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย

    ตอบลบ
  14. อ่านแล้วเศร้าค่ะแม่เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย

    ตอบลบ
  15. พี่ชายอายุ27ปี พึ่งเสียเพราะมะเร็งเหมือนกัน อ่านแล้วก็นึกถึงเลยคะ เพราะอาการเป็นแบบที่เขียนไว้เลยคะ เศร้ามากคะ

    ตอบลบ
  16. น้าที่เป็นเหมือนแม่คนที่2 กำลังปาวยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย พอได้อ่านบทความนี้ทำให้รู้เลยว่า เวลาทุกนาที ทุกวินาทีมีค่ามาก ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่นำมาแชร์กันค่ะ ร้องไห้ทุกครั้งทึ่อ่าน รักแม่นมคนนี้เสมอ สู้ๆไปด้วยกันคะ

    ตอบลบ
  17. ที่จริงเป็นบทความที่ไม่อยากมีใครอยากรู้ อยากเจอ แต่มันเลี่ยงไม่ได้ที่ข้อมูลต่างๆ มีคุณค่าสำหรับแม่ มะเร็งปอดระยะสุดท้าย ที่เริ่มทรุด และมีการถอถอยเจ็บปวดทรมานไปทุกๆ วัน
    ทุกๆ วันเป็นวันของแม่ จนถึงวาระสุดท้าย จะมีสติให้มากที่สุด และจะให้เค้าจากไปให้สบายที่สุด ขอบคุณคุณหมอมากๆ ค่ะ

    ตอบลบ
  18. ที่จริงเป็นบทความที่ไม่อยากมีใครอยากรู้ อยากเจอ แต่มันเลี่ยงไม่ได้ที่ข้อมูลต่างๆ มีคุณค่าสำหรับแม่ มะเร็งปอดระยะสุดท้าย ที่เริ่มทรุด และมีการถอถอยเจ็บปวดทรมานไปทุกๆ วัน
    ทุกๆ วันเป็นวันของแม่ จนถึงวาระสุดท้าย จะมีสติให้มากที่สุด และจะให้เค้าจากไปให้สบายที่สุด ขอบคุณคุณหมอมากๆ ค่ะ

    ตอบลบ
  19. อ่านตั้วแต่ต้นช่วงปลายคือ"พ่อ"ในตอนนี้
    พยายามทำใจยอมรับ เพราะตรงทุกอย่าง...แต่ยากจัง

    ตอบลบ
  20. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  21. ก่อนหน้าไม่เคยรู้ว่าพ่อป่วยยุในระยะใหน จนอ่านบทความของอาจารย์ มันตรงลงมาเรื่อยๆ อ่านไปร้องไปจริงๆค่ะ

    ตอบลบ
  22. เพิ่มพลังชีวิตใหม่ต่อต้านโรคร้าย ด้วยพลังคอสมิก.....รักษามะเร็งระยะสุดท้าย ไม่เห็นผลยินดีคืนเงิน ติดต่อคุณรสริน line id: jakcosmic

    ตอบลบ
  23. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  24. ตอนนี้คุณพ่อดิฉันกำลังเผชิญกับมันอยู่..รอฟังจากคุณหมอพรุ่งนี้ 9.00 น. ณ เวลานี้อยู่ในระยะทำใจคะ..T_T (เพราะมันคือชีวิต)

    ตอบลบ
  25. ตอนนี้คุณพ่อดิฉันกำลังเผชิญกับมันอยู่..รอฟังจากคุณหมอพรุ่งนี้ 9.00 น. ณ เวลานี้อยู่ในระยะทำใจคะ..T_T (เพราะมันคือชีวิต)

    ตอบลบ
  26. ตอนนี้เวลา7.10รอหมอมาประเมิณพ่ออาการทรุดหนักมากคับ😭😭😭😭😭😭

    ตอบลบ
  27. ปรารถนาหายจากโรค/อาการผิดปกติ
    ต้องรู้สาเหตุของที่มาของโรคและความผิดปกติทั้งหลาย
    ดังนี้้
    1. เกิดจากกรรมไม่ดีจากอดีต ทำร้ายผู้มีพระคุณ ทำลายผู้มีความบริสุทธิ์ ทำลายผู้มีบารมี
    2. เกิดจากอยู่ใกล้ชิดคน ที่มีพลังมืด และมีพลังมืดสะสม
    3. เกิดจากอยู่ในสถานที่ หรือเคยไปสถานที่ ที่มีพลังงานผิดปกติ
    4. เกิดจากคุณไสยจากอดีต
    5. เกิดจากคุณไสยปัจจุบัน
    หนทางการรักษาที่มั่นคงคือ ความดี ของผู้ป่วยเพียงพอหรือไม่
    ปรารถนารู้ในสาเหตุ ด้วยตนเอง / และวิธีการรักษา ที่ถูกต้องต่อระบบธรรมชาติทั้งปวง ติดต่อไปที่ Line ID : Jakcosmic, Line ID : Jakcosmic999

    ตอบลบ
  28. สามีกำลังสู้กับมะเร็งด้วยกำลังใจเกินร้อย แต่เราแอบหวั่นใจร้องไห้ทุกครั้งที่มีโอกาส..... กลัวร่างกายคนที่เรารักสู้โรคร้ายไม่ไหว

    ตอบลบ
  29. คนดูแลญาติทรมานมากเพราะเขาเป็นหัวหน้าครอบครัวชีวิต1จากไปอีกหลายชิวิตล่มสลาย ใจสลายทรมานมาก

    ตอบลบ
  30. น่าให้สิทธิผู้ป่วยจากไปแบบไม่ต้องทรมานญาติและตนเองได้ดีก่วาบอกให้ปรง

    ตอบลบ
  31. คนดูแลญาติทรมานมากเพราะเขาเป็นหัวหน้าครอบครัวชีวิต1จากไปอีกหลายชิวิตล่มสลาย ใจสลายทรมานมาก

    ตอบลบ
  32. เจอกับตัวเองอยุ่คะตอนนี้ แม่ป่วย ระยะสุดท้าย อ่านแล้วร้องไห้ออกมาโดยอัตโนมัคิคะ

    ตอบลบ
  33. เจอกับตัวเองอยุ่คะตอนนี้ แม่ป่วย ระยะสุดท้าย อ่านแล้วร้องไห้ออกมาโดยอัตโนมัคิคะ

    ตอบลบ
  34. อ่านไปก็ร้องไห้ไป สงสารน้องสาวเป็นมะเร็งปอด ระยะที่ 4 ให้คีโมมาแล้ว 2ครั้งร่างกายซูปผอมไปมาก สงสารจับใจ ร้องจนจะไม่มีน้ำตาแล้วค่ะ

    ตอบลบ
  35. พ่อเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายเหมือนกันครับ เศร้าครับ

    ตอบลบ
  36. ตอนนี้กำลังเกิดกับพ่อเลย..ตอนกลางคืนไม่นอนเลยเพ้อแต่เรื่องอดีต
    เหมือนเห็นภาพหลอนด้วย สงสารพ่อมากเลย

    ตอบลบ
  37. รายละเอียดที่คุณหมอลงไว้ให้อ่านเป็นประโยชน์มากค่ะ เข้ามาอ่านเป็น10ๆรอบ ตอนนี้น้องสาวป่วยเป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายอาการแย่มาก ทานอะไรไม่ได้หายใจแผ่วๆ วาระสุดท้ายกำลังจะมาถึง😔

    ตอบลบ
  38. ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ อ่านบทความของคุณหมอแล้ว เป็นประโยชน์มากสำหรับการเตรียมใจและการดูแลแม่...ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

    ตอบลบ
  39. เป็นประโยชน์มากๆค่ะ เคยไปอ่านในเวปไซด์ของรพ.นึงมา เรื่องผู้ป่วยระยะสุดท้าย www.chularatcancercenter.com

    ตอบลบ