หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

มะเร็งปอด - เรื่องพื้นฐานที่คุณควรรู้

เรื่องพื้นฐานที่คุณควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งปอด



ปอด

        ปอดเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ในช่องอกประกอบด้วยปอดข้างซ้ายและขวา ทำหน้าที่ในการหายใจโดยเริ่มต้นจากการหายใจเอาอากาศผ่านทางจมูกหรือปาก เข้าสู่หลอดลมใหญ่ หลอดลมเล็กและถุงลมภายในปอด เวลาหายใจเข้าปอดจะขยายตัวจากลมที่หายใจเข้าไปนี่เป็นวิธีที่ร่างกายจะได้ รับออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซสำหรับการหายใจ และเมื่อหายใจออกลมจะไหลผ่านจากปอดออกมาเป็นลมหายใจนี่เป็นวิธีที่ร่างกาย ใช้กำจัดของเสียซึ่งก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คนเรามีปอดสองข้างแต่ข้างขวามีสามกลีบขณะที่ข้างซ้ายมีสองกลีบ ปอดห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มปอดสองชั้นและถูกปกป้องไว้ด้วยผนังทรวงอกซึ่งประกอบ กันด้วยกระดูกซี่โครงและกล้ามเนื้อ

เซลล์มะเร็ง

        มะเร็งเริ่มต้นขึ้นจากเซลล์ เซลล์เป็นส่วนประกอบเล็กๆที่สามารถประกอบกันมาเป็นอวัยวะและส่วนต่างๆร่างกายคล้ายก้อนอิฐที่ประกอบกันเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ได้ เซลล์ปกติในร่างกายจะมีการแบ่งตัวสร้างเซลล์ใหม่เมื่อจำเป็น เพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่อาจเสียหายหรือตายไป
        บางครั้งกระบวนการนี้เกิดความผิดพลาดขึ้น เซลล์มีการแบ่งตัวเกินความจำเป็นในขณะที่เซลล์เก่าก็ไม่ยอมตายจึงเกิดเซลล์ ที่มีมากเกินไปก่อตัวเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา ก้อนเนื้อนั้นก็อาจเป็นก้อนเนื้อปกติ หรือ ก้อนเนื้อร้ายที่เราเรียกว่ามะเร็งก็ได้ สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างก้อนเนื้อปกติกับมะเร็งก็คือ มะเร็งสามารถลุกลามและแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆได้
        เซลล์มะเร็งปอดก็เช่นเดียวกันสามารถลุกลามและแพร่กระจายออกจากก้อนมะเร็งในปอดเข้าสู่กระแสเลือดหรือท่อน้ำเหลืองซึ่งจะนำเซลล์มะเร็งไปสู่อวัยวะอื่นๆ เหมือนพืชที่หว่านเมล็ดออกไป เมื่อเซลล์มะเร็งฝังตัวในอวัยวะใหม่ก็ออกจากเติบโตขึ้นมาและสร้างอันตรายต่ออวัยวะนั้นๆได้ เราเรียกว่า “การแพร่กระจาย” และเราจะเรียกก้อนมะเร็งในอวัยวะใหม่ตามชนิดมะเร็งตั้งต้น เช่น เมื่อกระจายไปที่กระดูกเราจะเรียกว่ามะเร็งปอดกระจายไปสู่กระดูก แต่ ไม่ได้เรียกว่าเป็นมะเร็งกระดูก เช่นเดียวกับต้นสนภูเขา แม้เมล็ดไปงอกริมทะเลเราก็ยังเรียกต้นไม้ใหม่นั้นว่าต้นสนภูเขาไม่ใช่ต้นสนทะเล




ชนิดของมะเร็งปอด

        แม้มะเร็งจะเกิดขึ้นในปอดเหมือนกันแต่ชนิดของเซลล์มะเร็งปอดก็อาจแตกต่างกัน ได้ ปัจจุบันเราแบ่งแยกชนิดเซลล์มะเร็งปอดเป็นชนิดเซลล์เล็กและชนิดเซลล์ไม่เล็ก ซึ่งแบ่งแยกโดยการดูขนาดจากกล้องจุลทรรศน์ สาเหตุที่ต้องแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆนี้เพราะแต่ละชนิดมีการรักษาที่แตกต่าง กันอย่างมาก คนไข้มะเร็งปอดส่วนใหญ่(ราวๆ 7 ใน 8 คน) จะเป็นชนิดเซลล์ไม่เล็ก
        มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กยังมีการแบ่งชนิดย่อยลงไปอีก ซึ่งอาจมีผลต่อทางเลือกการรักษาในบางสถานการณ์ ชื่อชนิดย่อยต่างๆจะเป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ หากไม่แน่ใจคุณอาจขอให้หมอจดให้คุณพร้อมบอกวิธีออกเสียงให้แก่คุณได้





        *** คุณอาจจะอยากถามหมอถึงชนิดของมะเร็งปอดของคุณ ข้อมูลตรงนี้อาจช่วยให้การหาข้อมูลต่อไปตรงกับที่คุณต้องการมากขึ้น ***

การตรวจหาระยะของมะเร็งปอด

        เมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งปอด ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญคือการหาระยะของมะเร็งปอดเพราะจะเป็นปัจจัยสำคัญในการ กำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสม การตรวจหาระยะมักจะกระทำโดยการหาขนาดของก้อนแรกเริ่ม การแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะต่างๆ สำหรับมะเร็งปอดอาจพบการกระจายได้เกือบทุกอวัยวะ เช่น ปอดส่วนอื่น กระดูก ตับ ต่อมหมวกไต และ สมอง การตรวจหาระยะนั้นอาจประกอบด้วยเครื่องมือต่อไปนี้ (การตรวจที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละรายจะขึ้นกับแพทย์ที่ดูแลเป็นสำคัญ)
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) บางคนเรียกว่าการเข้าอุโมงค์ เพราะเครื่องมือมีลักษณะคล้ายอุโมงค์เล็กๆ เป็นการเอกซเรย์ซ้ำๆและต่อเนื่องก่อนจะใช้คอมพิวเตอร์ประกอบรวมกันเป็นภาพของอวัยวะต่างๆ เพื่อให้ภาพที่ได้มีข้อมูลที่ชัดเจนอาจมีการฉีด กิน หรือ สวนทวารด้วยสารทึบรังสี
- เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นการดูภาพของอวัยวะต่างๆเช่นเดียวกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แต่ใช้สนามแม่เหล็กในการตรวจจับสัญญาณต่างๆออกมาเป็นภาพ บางครั้งอาจมีการฉีดสารเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ข้อมูลที่ใกล้เคียงหรือแตกต่างกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในคนไข้แต่ละคนจึงอาจมีการเลือกใช้ที่ไม่เหมือนกัน
- สแกนกระดูก (Bone scan) เป็นการฉีดสารรังสีปริมาณน้อยๆ ซึ่งมักจะไปจับบริเวณที่กระดูกมีการเปลี่ยนแปลงเช่นอุบัติเหตุ หรือ มีการแร่กระจายของมะเร็ง
        นอกจากนี้อาจมีการตรวจอื่นๆที่จำเป็น เช่นการตรวจชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองในบริเวณที่ไม่แน่ใจ หากคุณไม่แน่ใจในเหตุผลการตรวจ คุณสามารถสอบถามจากแพทย์ที่สั่งได้และคุณสามารถขอสำเนาผลตรวจต่างๆไว้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์หากจำเป็นต้องพบกับแพทย์ที่อื่นๆ

ระยะของมะเร็งปอด

- ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก
        ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ 1 2 3 และ 4 ตามการลุกลามและแพร่กระจาย
ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรกยังไม่มีการแพร่กระจายออกไปให้เห็น ขนาดก้อนเริ่มแรกจะไม่เกิน 5 เซนติเมตร หรือขนาดเท่าๆลูกมะนาวผลใหญ่
ระยะที่ 2 เป็นระยะต้นๆเช่นกันโดยอาจมีขนาดใหญ่กว่าระยะแรกหรือเริ่มมีการแพร่กระจายไป สู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง หรือแพร่กระจายภายในปอดกลีบเดียวกัน
ระยะที่ 3 เป็นระยะต่อมาจากระยะที่ 2 ตัวก้อนมักจะใหญ่มีการลุกลามสู่อวัยวะข้างเคียง หรือ มีการแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ไกลออกไปจากระยะที่ 2 บางครั้งอาจพบก้อนมะเร็งในปอดกลีบอื่นที่ยังอยู่ภายในข้างเดียวกันกับก้อน เริ่มแรก
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ หรือกระจายเข้าช่องเยื่อหุ้มปอดทำให้มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด มะเร็งปอดในระยะนี้อาจเรียกกันว่ามะเร็งระยะสุดท้าย



        โปรดทราบ!!! มะเร็งระยะแพร่กระจายหรือมะเร็งระยะที่ 4 แม้จะเป็นระยะสุดท้ายจากตัวเลข 1-4 แต่ไม่ได้หมายถึงคนไข้อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตเสมอไป ในความเป็นจริงก็ยังมีการรักษาต่างๆอยู่ ซึ่งอาจทำให้คนไข้หลายคนมีชีวิตต่อไปได้อย่างแข็งแรงอีก ดังนั้นอย่าเพิ่งหมดกำลังใจ ควรคุยกับแพทย์ที่ดูแลถึงแนวทางการรักษาและความคาดหวังที่เป็นไปได้เสียก่อน

- ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก
แม้จะสามารถแบ่งเป็นระยะ 1 - 4 ได้เช่นเดียวกันกับมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก แต่แพทย์ส่วนใหญ่นิยมแบ่งเป็นสองระยะเท่านั้นตามการรักษา คือ
1 ระยะแรกเริ่ม (limited stage) เป็นระยะที่ตัวมะเร็งทั้งหมดอยู่ในปอดข้างเดียวกันซึ่งอยู่ภายในขอบเขตที่ฉายแสงได้หมด
2 ระยะลุกลาม (Extensive stage) เป็นระยะที่มีมะเร็งลุกลามนอกเหนือกว่าปอดข้างเดียวกันหรือไม่สามารถฉายแสง ได้หมด ซึ่งอาจจะยังไม่มีการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆเช่นในระยะที่ 4 ทั่วไปๆ

การรักษามะเร็งปอด

        การรักษามะเร็งปอดมีหลายทางเลือกซึ่งแต่ละระยะ แต่ละคนอาจมีทางเลือกที่เหมือนกัน หรือ แตกต่างกัน ในบางคนอาจจะต้องใช้ทางเลือกการรักษาที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ทางเลือกที่เป็นมาตรฐานมีดังนี้
1 การผ่าตัด
2 การฉายแสง
3 การให้ยาเคมีบำบัด
4 การให้ยาตรงเป้า

 

         นอกจากนี้คนไข้ทุกคนจะได้รับการรักษาตามอาการและการรักษาประคับประคอง ซึ่งอาจเกิดจากตัวโรคมะเร็งปอด จากผลข้างเคียงของการรักษา ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ อย่าลังเลที่จะปรึกษากับแพทย์ของท่านถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นหรือกังวลว่าจะเกิดขึ้น
        ทีมของการรักษานอกจากแพทย์เฉพาะทางต่างๆยังอาจจะประกอบด้วยพยาบาลโรคมะเร็งและเคมีบำบัด นักโภชนบำบัด นักกายภาพบำบัด แพทย์เฉพาะทางที่คุณอาจจะได้พบมีดังนี้
1 ศัลยแพทย์ทรวงอก เป็นแพทย์ผ่าตัดซึ่งชำนาญในการผ่าตัดอวัยวะภายในทรวงอกรวมถึงปอดและมะเร็งปอด
2 อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา เป็นแพทย์ที่ชำนาญในการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาไม่ว่าจะเป็นยาเคมีบำบัด ยารักษาตรงเป้า บางครั้งอาจเป็นผู้ประสานงานระหว่างแพทย์เฉพาะทางต่างๆ
3 รังสีแพทย์สาขารังสีรักษา เป็นแพทย์ที่ชำนาญในการรักษาโรคมะเร็งโดยการฉายรังสี
4 อายุรแพทย์โรคปอด เป็นแพทย์ที่ชำนาญในการรักษาโรคทางปอดซึ่งบางครั้งอาจมีส่วนร่วมในการรักษา อาการทางปอด การส่องกล้องเพื่อตรวจชิ้นเนื้อ และการเตรียมพร้อมก่อนการผ่าตัดปอด



        ***บางครั้งก่อนการตัดสินใจการรักษาคุณอาจอยากจะฟังความเห็นของแนวทางการรักษาจากแพทย์ท่านอื่นก่อน (Second opinion)***
        คนไข้อาจกังวลว่ามันเป็นการไม่สมควรที่จะบอกแพทย์ที่ดูแลว่าต้องการไปปรึกษา แพทย์ท่านอื่นก่อน ในความเป็นจริงแพทย์ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหากับการขอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่น การแจ้งแพทย์ที่ดูแลอยู่จะมีประโยชน์สำคัญสองข้อคือ 1 สามารถแนะนำได้ว่าตัวโรคมะเร็งของคุณสามารถรอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นได้ หรือไม่เพราะบางครั้งการรักษาของคุณอาจรอนานไม่ได้ 2 แพทย์ที่ดูแลจะช่วยในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญเพื่อประกอบการตัดสิน ใจในการแนะนำทางเลือกในการรักษา บางครั้งคำแนะนำที่ได้อาจเหมือนหรือแตกต่าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคุณเองในการตัดสินใจบนข้อมูลและคำแนะนำที่ครอบคลุมที่สุด

1 การผ่าตัด

      การผ่าตัดเป็นทางเลือกของการรักษามะเร็งปอดในระยะต้นๆ ก่อนผ่าตัดจะมีการประเมินก่อนว่าคุณน่าจะปลอดภัยมากพอสำหรับการผ่าตัด โดยทั่วไปการผ่าตัดนั้นจะทำการผ่าตัดเอาเฉพาะปอดส่วนที่มีก้อนมะเร็งอยู่ภายในซึ่งอาจเป็นบางส่วนของกลีบปอดหรือทั้งกลีบปอด โดยปกติจะมีการเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออกไปด้วยเพื่อตรวจดูการลุกลาม
       หลังการผ่าตัดใหม่ๆ อาจมีน้ำและลมค้างอยู่ในปอดข้างที่ผ่าตัดจึงมีการใส่สายระบายทรวงอกค้างไว้เพื่อระบายน้ำและลมออกมา อาการเจ็บปวดจะควบคุมได้ด้วยยาแก้ปวด ระหว่างนี้คุณจะต้องฝึกการไอและการหายใจ ในเวลาไม่กี่วันต่อมาสายระบายก็จะสามารถเอาออกได้ และคุณอาจจะสามารถกลับออกจากโรงพยาบาลในเวลาต่อมา โดยมากจะใช้เวลาราวๆ 1 สัปดาห์ในโรงพยาบาล แต่คุณอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ก่อนจะสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ

2 การฉายแสง

        การฉายรังสีหรือการฉายแสงอาจเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาในหลายระยะหลายสถานการณ์ในคนไข้มะเร็งปอด เช่น การฉายแสงในระยะเริ่มแรกสำหรับคนที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การฉายแสงตามหลังการผ่าตัด การฉายแสงพร้อมเคมีบำบัด หรือการฉายแสงในกรณีที่มีการแพร่กระจายไปกระดูกหรือสมอง เป็นต้น
        การฉายแสงจะเป็นการรักษาโดยใช้เครื่องฉายแสงซึ่งมีลักษณะคล้ายเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งจะปล่อยรังสีภายในขอบเขตที่กำหนดเท่านั้น การฉายแสงมักจะฉายต่อเนื่องทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ พักเสาร์อาทิตย์ ติดต่อกันจนครบตามแผนการรักษาซึ่งอาจจะนานแค่ สองสัปดาห์ไปจนถึงหกสัปดาห์ แต่การฉายแต่ละวันจะใช้เวลาไม่นานคือราวๆ 20-30 นาที
        แม้ว่าการฉายแสงจะไม่เจ็บปวดขณะที่กำลังฉายอยู่ แต่อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้กับบริเวณที่ได้รับรังสี เช่นการฉายบริเวณทรวงอกอาจมีอาการเหนื่อยหรือเจ็บคอ บริเวณผิวหนังที่อยู่ในขอบเขตฉายแสงอาจแดง แห้ง หรือดำคล้ำ บางรายอาจเจ็บหรือเกิดแผลแต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปภายหลังเสร็จสิ้นการรักษา
        คุณอาจมีอาการเพลียบ้างระหว่างการฉายแสงโดยเฉพาะสัปดาห์ท้ายๆของแผนการรักษา แม้การพักมากๆจะสำคัญแต่คนไข้หลายคนๆก็รู้สึกดีกว่าหากออกกำลังกายเบาๆสม่ำเสมอทุกวันๆ


3 การให้ยาเคมีบำบัด

        ยาเคมีบำบัดหรือคีโม อาจใช้ในการรักษาเดี่ยวๆหรือร่วมกับการฉายแสงหรือตามหลังการผ่าตัด ยาเคมีบำบัดเป็นยาที่ให้ผ่านทางเส้นเลือดเหมือนยาอื่นๆทั่วไป ตัวยาออกฤทธิ์เข้าทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วๆเช่นเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ปกติบางส่วนของร่างกายซึ่งอาจส่งผลออกมาในรูปแบบผลข้างเคียงเช่นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆอาจทำให้เกิดอาการซีด เกล็ดเลือดต่ำ หรือติดเชื้อได้ง่าย อาจมีผมร่วง หรือมีอาการท้องเสีย อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงนั้นไม่ได้เกิดกับทุกราย ขึ้นอยู่กับตัวยาและขนาดยาที่ใช้  ผลข้างเคียงส่วนมากจะดีขึ้นหรือหายเป็นปกติเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา
        ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่อาจสามารถให้แบบไปกลับในห้องให้ยาและสารน้ำระยะสั้น หรือในบางครั้งอาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อให้ยา คุณสามารถสอบถามวิธีการให้ ระยะเวลาของรอบการให้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยและวิธีการแก้ไขเบื้องต้นจากทีมที่ดูแลการรักษาของคุณ

4 การให้ยาตรงเป้า

        การรักษาด้วยยาตรงเป้าอาจเป็นทางเลือกของมะเร็งปอดที่มีการแพร่กระจาย ซึ่งการรักษาจะออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเป้าหมายของยาซึ่งในบางครั้งเป้าหมายเหล่านั้นก็มีอยู่ในเซลล์ปกติจึงอาจเกิดผลข้างเคียงต่างๆขึ้นได้ ยาตรงเป้ามีทั้งฉีดและกิน เป้าหมายของยาบางครั้งอาจตรวจหาได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่คนไข้ทุกคนจะเหมาะกับการรักษาด้วยยาตรงเป้า

อาหารการกินสำหรับคนไข้มะเร็งปอด

        การกินอย่างถูกต้องมีความสำคัญอย่างมากทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการรักษาโรคมะเร็ง ร่างกายต้องการพลังงานที่พอเพียงเพื่อให้น้ำหนักร่างกายสมดุล และต้องการโปรตีนที่พอเพียงเพื่อรักษาความแข็งแรงของร่างกาย การกินที่พอเพียงจะช่วยให้คุณสดชื่น ร่างกายแข็งแรง
        บางครั้งคุณอาจมีความรู้สึกเบื่ออาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการรักษา อาจเพราะรู้สึกเหนื่อยหรือไม่สุขสบายเช่นคลื่นไส้ เจ็บปากเจ็บคอ หรือรสชาติของอาหารผิดเพี้ยนไป ทีมที่ดูแลการรักษาอาจช่วยแนะนำการปฏิบัติตัวหรือหาทางให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่พอเพียงได้

        ***ระวัง !!! การงดอาหารจนพลังงานไม่พอเพียงและงดโปรตีนจนไม่พอตามที่ร่างกายต้องการนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้มะเร็งหยุดเจริญเติบโตยังทำให้ร่างกายของคุณอ่อนแอ ทรุดโทรม รวมทั้งอาจมีผลข้างเคียงจากการรักษาสูงกว่าที่ควรจะเป็น***

การติดตามการรักษา

        ระหว่างการรักษาคุณมักจะต้องไปโรงพยาบาลบ่อย อย่างไรก็ดีเมื่อสิ้นสุดการรักษาก็จะยังมีการติดตามการรักษาเป็นประจำอยู่ในระยะที่ห่างออกไปเรื่อยๆเช่นทุกเดือน ทุก 3 เดือน ทุก 6 เดือน เพราะแม้สิ้นสุดการรักษาไปแล้วมะเร็งปอดก็อาจจะกลับมาใหม่ๆได้(ในกรณีระยะต้นๆ) หรือกลับมาลุกลามใหม่ได้(ในกรณีระยะแพร่กระจาย)
        การติดตามการรักษาสม่ำเสมอนอกจากจะคอยเฝ้าระวังเรื่องมะเร็งกลับมายังช่วยในการติดตามผลข้างเคียงจากการรักษา ปัญหาสุขภาพใหม่ๆ หากคุณมีอาการหรือปัญหาสุขภาพใหม่ๆอย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ก่อนนัด
        การติดตามการรักษาอาจมีเพียงการสอบถามอาการร่วมกับการตรวจร่างกาย หรืออาจจะมีการตรวจเลือด ตรวจเอกซเรย์ต่างๆ ตามความจำเป็น

โครงการวิจัยการรักษา

        การรักษามะเร็งปอดมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาทางรักษาที่ดีกว่าอยู่ตลอด การเข้าร่วมการศึกษาวิจัยอาจได้ประโยชน์จากการได้รับการรักษาใหม่ๆที่ดีกว่าในขณะเดียวกันก็อาจมีความเสี่ยงจากการรักษาใหม่ๆเช่นกันหากมันไม่ได้ผลหรือมีผลข้างเคียงมากกว่า อย่างไรก็ดีแพทย์ที่มีส่วนในการศึกษาวิจัยจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนไข้ และแม้ผู้เข้าร่วมอาจไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการศึกษาวิจัยแต่ความรู้ที่ได้จะนำไปสู่การรักษาที่ดีกว่า เพื่ออนาคตของทุกคน

31 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบ
    1. พ่อเราเป็นมะเร็งปอดระยะสามบี แต่ท่านไม่ทราบให้รับรู้ว่าปอดอักเสบต้องผ่าตัดไม่งั้นเดี๋ยวกลายเป็นเรื้อร้ายท่านก็เชื่อ เพิ่งผ่าตัดไปเมือเดือน 8ที่ผ่านมานี่เอง ตอนนี้ให้คีโมอยู่ ต้องให้ 8ครั้ง การไม่รู้ว่าเป็นมะเร็งทำให้ท่านสดชื่นแข็งแรงดี. ทุกอย่างอยู่ที่กำลังใจค่ะอย่าท้อแท้ อย่าสิ้นหวังค่ะ

      ลบ
    2. 7
      การทำคีโมทำมากๆเชื้อจะดื้อยานะคะที่สำคัญมันจะไปทำลายเซลล์ที่ดีในร่างกายอีก เรามียาสมุนไพรดีมีคุณภาพมาเสนอคุณ สนใจติดต่อ line:chureemymom คนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายมาแล้วนะ

      ลบ
  2. คุณแม่อายุ65 ตรวจพบเจอมะเร็งปอด หมอที่รพ.นครปฐม บอกว่าเป็นขั้นที่4 แบบเซลไม่เล็ก หมอถามว่าจะรักษาต่อหรือไม่ คำถามคือรักษาต่อไม่ได้แล้วหรือ ทำให้พ่อและดิชั้น เกิดความลังเล แต่ดิชั้นก้อขอให้รพ.ส่งตัวไปที่ราชวิถีเพื่อทำคีโมต่อไป แต่พ่อดิชั้นก่อคอยพูดเสมอว่าไม่อยากให่แม่ทรมาน กลัวเค้าจะเจ็บปวดจากการรักษา คุณหมอยังบอกกับดิชั้นอีกว่าถ้าให้แม่ทำคีโม ถ้าครั้งแรกแกไม่ไหวก้อไม่ต้องยื้อแก แรื่องนี้แม่ไม่รู้ แม่รู้แต่ว่ายังไงๆแม่ก้อไม่หายแกเลยสองจิตสองใจว่าจะทำหรือไม่ ดิชั้นควรจะพูดกับพ่อแล้วปลอบแม่ยังไงดีคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 7
      การทำคีโมทำมากๆเชื้อจะดื้อยานะคะที่สำคัญมันจะไปทำลายเซลล์ที่ดีในร่างกายอีก เรามียาสมุนไพรดีมีคุณภาพมาเสนอคุณ สนใจติดต่อ line:chureemymom คนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายมาแล้วนะ

      ลบ
  3. แม่อายุ 66 เป็นระยะ 4 เหมือนกันค่ะ แต่หมดที่ รพ.พุทธชินราช ก็รักษาแม่ แม่กระจายไปที่สมอง ต้องผ่าตัดสมอง ผลการผ่าตัดเรียบร้อยดีค่ะ หมอเก่งมาก ต่อมาก็มารักษาที่ปอด เพราะต้นเหตุอยู่ที่ปอดค่ะ หมอทำการฉายแสงที่สมองก่อนจำนวน 10 แสง พอเสร็จก็มีให้คีโมต่อค่ะ วันที่ 11 พ.ค. 59 นี้ จะให้คีโมครั้งแรก ยังไม่รู้ว่าแม่จะแพ้มากแค่ไหนค่ะ ทั้งนี้ไม่ได้บอกแม่ค่ะว่าแม่เป็นอะไร บอกแค่ว่าเป็นเนื้องอก ไม่อยากให้แกจิตตกค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ต้องกังวลนะคะ ตัวแอร์เองก้อเป็นมะเร็งเหมือนกัน และได้รับการให้คีโมอยู่ 2 โดส คือ 12 เข็ม หมอที่จุฬาเก่งค่ะ ถ้าเราคิดว่ามันหาย มันก้อจะหายค่ะ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับกำลังใจล้วนๆ เลยค่ะ คุณควรบอกคุณแม่นะคะ ว่าโรคนี้ไม่ถูกกับความเครียด เพราะฉะนั้นแล้วเราไม่ควรเครียดค่ะ เครียดไปก้อไม่หายนะคะ

      ลบ
    2. 7
      การทำคีโมทำมากๆเชื้อจะดื้อยานะคะที่สำคัญมันจะไปทำลายเซลล์ที่ดีในร่างกายอีก เรามียาสมุนไพรดีมีคุณภาพมาเสนอคุณ สนใจติดต่อ line:chureemymom คนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายมาแล้วนะ

      ลบ
    3. เราผ่าตัดปอดที่ รพ พุทธเหมือนกันคะ เจอก้อนขนาด8ซม.ที่ปอดข้างขวา ผ่ากับหมอสิทธิโชค แผนกศัลยกรรม คะ ท่านเก่งมาก ดูแลเอาใจใส่คนไข้ดีคะ พูดก็ดีด้วยคะ ใครจะผ่าที่ รพ พุทธ เราแนะนำให้ไปหาท่านคะ

      ลบ
    4. เราผ่าตัดปอดที่ รพ พุทธเหมือนกันคะ เจอก้อนขนาด8ซม.ที่ปอดข้างขวา ผ่ากับหมอสิทธิโชค แผนกศัลยกรรม คะ ท่านเก่งมาก ดูแลเอาใจใส่คนไข้ดีคะ พูดก็ดีด้วยคะ ใครจะผ่าที่ รพ พุทธ เราแนะนำให้ไปหาท่านคะ

      ลบ
  4. เป็นกำลังใจให้แม่ของคุณและคุณด้วยนะคะ ถ้าคุณหมอประเมินอาการว่าสามารถรับคีโมได้ ก้อให้เลยค่ะ แม่ไม่ได้แพ้อย่างที่เราอย่างทีเรากลัวกันค่ะ แต่ผมร่วงแน่นอน แต่เดี๊ยวก้อขึ้นใหม่

    ตอบลบ
  5. คุณพ่อก็เป็นมะเร็งปอดค่ะ อายุ 63 ปีเริ่มจากตรวจพบว่ามีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ต้องเจาะออกพอส่งตรวจพบเชื้อในน้ำ, ผลชิ้นเนื้อ และยืนยันจากผลCT Scan อีกทีหมอบอกเป็นมะเร็งปอดระยะ 4 วางแผนการรักษาโดยให้คีโม 4 ครั้งห่างกันครั้งละ 3 สัปดาห์ ให้เข็มแรกแบบไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่นเบื่ออาหาร ชาปลายมือ ปลายเท้า เวียนศีรษะ พอใกล้ถึงกำหนดให้คีโมครั้งที่ 2 ผมเริ่มร่วง และหมอเอ็กซ์เรย์พบว่ามีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเพิ่มขึ้นอีกจึงตัดสินใจพักการให้คีโมแล้วมาจัดการกับน้ำในปอดก่อน คุณหมอเจาะระบายน้โดยการค้างสายไว้ และฉีดยาเชื่อมปอด นอนโรงพยาบาลอยู่เดือนกว่า สุดท้ายต้องส่งต่อให้โรงพยาบาลเฉพาะทางรักษา จนปริมาณน้ำออกน้อยลงคุณหมอจึงถอดสายระบายน้ำและให้กลับบ้านเพื่อมาให้จัดการกับตัวต้นเหตุกันต่อไป แต่เรามีความกังวลอยู่อย่างหนึ่งคือหลังจากเอาสายออกยังคงมีน้ำซึมออกมาจากแผลต่อเวลา รบกวนชี้แนะด้วยค่ะว่าควรทำอย่างไรต่อดีคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 7
      การทำคีโมทำมากๆเชื้อจะดื้อยานะคะที่สำคัญมันจะไปทำลายเซลล์ที่ดีในร่างกายอีก เรามียาสมุนไพรดีมีคุณภาพมาเสนอคุณ สนใจติดต่อ line:chureemymom คนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายมาแล้วนะ

      ลบ
    2. การให้ข้อมุลผิดๆ เป็นสิ่งไม่สมควร
      การทำคีโมมากๆไม่ได้ทำให้เชื้อดื้อ
      ยาคีโมทำลายเซลล์ที่ดีของร่างกายได้ก็จริง แต่หากเลือกให้อย่างเหมาะสมกับชนิดและระยะของมะเร็งที่เป็น และสภาพคนไข้ ก็จะให้ผลดี (มีการศึกษาวิจัยยืนยัน)
      ยาสมุนไพรดีมีคุณภาพอาจมีประโยชนืในการรักษามะเร็ง แต่ควรศึกษาอย่างละเอียด

      ลบ
  6. น้าชายอายุ 46 ปีค่ะพึ่งตรวจพบเป็นมะเร็งปอด ระยะ4หมอส่งรักษาที่ศูนย์มะเร็งลำปาง ฉายแสง ที่ปอดและสมอง ที่ละ6ครั้งตอนนี้กลับมาพักพื้นอยู่บ้านได้4วันวันนี้ผมน้าร่วงเป็นผลจากการรักษาหรือเปล่าค่ะและเราต้องทำอย่างไรแต่ค่ะตอนนี้ก็ให้กำลังใจแกตลอด จึงอยากได้คำแนะนำค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 7
      การทำคีโมทำมากๆเชื้อจะดื้อยานะคะที่สำคัญมันจะไปทำลายเซลล์ที่ดีในร่างกายอีก เรามียาสมุนไพรดีมีคุณภาพมาเสนอคุณ สนใจติดต่อ line:chureemymom คนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายมาแล้วนะ

      ลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. การทำคีโมทำมากๆเชื้อจะดื้อยานะคะที่สำคัญมันจะไปทำลายเซลล์ที่ดีในร่างกายอีก เรามียาสมุนไพรดีมีคุณภาพมาเสนอคุณ สนใจติดต่อ line:chureemymom คนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายมาแล้วนะ

    ตอบลบ
  9. สมุนไพรมีอย. มีสคบ. มีตราฮาลาล ที่สำคัญไม่มีสารเคมีเจือปน สนใจไปดูโรงงานที่เขาชะงุ้มราชบุรีได้เลย บริษัทไลท์กรุ๊ปเราต้อนรับคนป่วยทุกท่านนะคะ

    ตอบลบ
  10. เป็นปอดระยะ3A อายุ 34 ปี เริ่มรักษาให้คีโมแปดครั้งฉายรังสี 30 คร้ง จนเล็กลง ผ่าตัดปอดด้านซ้ายออก และเลาะเนื้องอกที่ต่อมออก ตอนนี้ให้คีโมอีกแปดครั้งพึ่งได้สามครั้งค่ะแต่มีอสการเจ็บหน้าอก แต่ก็สู้ค่ะลูกพึ่งสามขวบ มาสู้ไปด้วยกันนะค่ะ

    ตอบลบ
  11. ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ คุณUnknown

    ตอบลบ
  12. ตอนนี้เราอายุ33ปี ตรวจเจอก้อนที่ปอดข้างขวาขนาด9ซม.ก้อนทับหลอดลมบางส่วน ใกล้กับเส้นเลือด และมีน้ำในปอดเล็กน้อง เราตรวจที่ ที่รพ.พุทธชินราช คุณหมอให้ผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจอาทิตย์หน้า กลัวเหมือนกันว่าจะเป็นมะเร็ง แต่เราก็ไม่ท้อ สู้ต่อไป สู้ๆนะคะทุกคน

    ตอบลบ
  13. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  14. รักษาบรรเทาอาการโรคร้าย เช่น อาการเจ็บปวดจากโรค อาการป่วยรุนแรงระยะสุดท้าย สามารถทดลองการรักษาได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเห็นผลการรักษา(อาการดีขึ้น) ภายใน 7 วัน ติดต่อคุณรสริน line id : jakcosmic และ line id : jakcosmic999

    ตอบลบ
  15. เราอีกคนที่ผ่าตัดปอด เราอายุ38 เปนเนื้องอกที่ปอด ขนาด6.5 หมอตรวจพบว่าเปนเนื้องอกชนิดนึงที่เปนเนื้อดี ไม่ใช่เนื้อร้าย ผ่าตัดออกได้หมดก็คือหายขาด แต่ยังต้องไปตรวจทุก6เดือน ม่มียากิน ม่ต้องทำไรเรยค่ะ แต่ดิฉันชอบดื่ม หลังผ่าได้ไม่ถึง6เดือนก็ดื่มแล้วค่ะ ไปตรวจทุก3เดือนหมอก็บอกทุกอย่างโอเคดีค่ะ เลือดปกติ ปอดปกติ ดิฉันได้ใจเริ่มดื่มหนักทุกวัน ไปตรวจอีกทีก็ยังปกติดีอยู่ แต่มาพักหลังนี้เริ่มเหนื่อยและเพลียๆเริ่มมีสเลดเยอะกว่าปกติแต่ไม่ไอ มีเลือดจางๆปนนิดเดียวเวลาขับออกเริ่มกลัวค่ะดิฉันหยุดดื่มทันที พอหยุดดื่มก็ไม่มีค่ะ แต่พอดื่มมันก็เปนอีกค่ะ ต้องหยุดเรยค่ะ เพราะไม่อยากเปนอีก ไม่อยากผ่าตัดอีกแล้วค่ะ ทรมานหลังผ่ามากๆเรยค่ะ

    ตอบลบ
  16. ปู่หนูอายุ77ค่ะ เพิ่งตรวจพบมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ท่านผอมมาก หมอไม่แนะนำให้รักษาทางเคมี เลยยังไม่ไดส่งตัวไปรักษา กนูควรทำยังไงดีค่ะ แล้วอายุ77ปี สำหรับคนที่เป็นมะเร็งเขารักษาทางเคมีกันไหมค่ะ

    ตอบลบ
  17. พ่อเป็นเนื้องอกเยื่อหุ่มปอด ใช่มะเร็งมั้ยค่ะ มีอาการปวดมากตอนนี้ มีก้อนปูดขึ้นมา ตอนนี้มีก้อนที่สองขึ้นมาข้างรักแร้ ไปเอกซเรมาหมอว่าผ่าตัดไม่ได้แล้ว ใครมีวธีรักษาหรือแนะนำโรงพยาบาลให้บ้างนะค่ะ

    ตอบลบ
  18. แม่พึ่งไปตรวจพบมีน้ำท่วมปอดไปข้างหนึ่งน้ำปริมาณเยอะมาก.หมอนัดเจาะน้ำเพื่อตรวจ หมอบอกเลย วัณโรคหรือมะเร็งปอด/แต่น่าจะมะเร็งปอด/ทั้งๆที่ยังไม่ได้เจาะน้ำหมออธิบายทุกอย่างจนแม่เห็นภาพ พูดตรงมากทำนองที่ว่ามะเร็งปอด แม่ขอกลับบ้านเลยขอมาเจาะวันอื่นตั้งแต่กลับมารวม4วัน แม่เครียดมากกินไม่ได้ นอนไม่หลับ แม่เหมือนเป็นคนละคน/สำหรับลูกอย่างเราเหมือนทุกอย่างดับวูบ,หมดแรง,เราสงสารแม่สุดใจเราร้องไห้ทุกคืนนอนไม่หลับทั้งคืนเรากินไม่ได้เราเหมือนป่วยไปพร้อมกับแม่.หัวใจแม่สลายพร้อมกับหัวใจลูก เราทำใจยอมรับไม่ได้เลยถ้าเจาะแล้วยืนยันผลมะเร็งปอดระยะสุดท้าย.จะทำยังงัยถ้าตื่นมาแล้วไม่เจอแม่.เราห้ามน้ำตาไม่ได้เลย.หมอพูดต่อหน้าแม่พูดกระทั่งการเจาะเอาชิ้นเนื้อทุกขั้นตอน แม่เราเหมือนคนป่วยโดยฉับพลัน.ทั้งๆที่ยังไม่ได้เจาะปอด.หนูรักแม่ที่สุด.

    ตอบลบ
  19. สู้ๆค่ะ ดิฉันก็เจาะน้ำออกจากปอดตอนกุมภาพันธ์ เป็นมะเร็งปอด ตอนนี้กำลังให้คีโมอยู่ค่ะ ทุกอย่างอยู่ที่่กำลังใจล้วนๆ ไม่น่ากลัวค่ะ ผ่านไปด้วยกันกับดิฉันนะค่ะ

    ตอบลบ
  20. เป็นมะเร็งปอดซ้าย ระยะที่ 4 ลามไปเยื่อหุ้มปอดแหล่ะ คุณหมอรักษาโดยให้ฉายแสงกับกินยามุ่งเป้า ไม่เคยให้คีโม ตอนแรกไอตลอด ไม่ได้หลับได้นอน พักผ่อนน้อยมาก นอนราบไม่ได้ ต้องนอนแบบเอนหลังบนโซฟา พอพี่ชายซื้อใบบัวบกแบบแคปซูลของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมาให้กิน กินอยู่ 2 เดือน ดีขึ้นมากเลย ไอน้อยลง เสมหะน้อยลง และนอนราบได้แล้ว เลยนอนกับลูกทุกคืนเลยค่ะ

    ตอบลบ
  21. ไอเหมือนกันค่ะ มีเสมหะปนเลือด ไอ2สัปดาห์ เทียวหาหมอเพื่อหาสาเหตุ เป็นเดือนค่ะ แล้วได้ส่องปอดตรวจชิ้นเนื้อเป็นมะเร็งปอดขวาล่าง ชนิด adenocarcinoma เริ่มแพ่กระจายแล้ว ก้อนใหญ่เกือบเท่าหัวใจ ท้องอยู่ด้วยเด ไอตลอด ตอนนี้ต้องวางแผนรักษา รวมตั้งแต่ตรวจพบก็เกือบเดือนแล้ว อีก2สัปดาห์รับคีโม ครบแล้วถึงผ่า แต่คุณหมอที่รพ.พุทธชินราชใส่ใจดีค่ะ หวังว่าทุกย่างจะดีค่ะ สู้ๆ และเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ ��

    ตอบลบ